เมนู

ฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์
เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ 4 นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา 4
ดังนี้ ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา)
อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถ
ชนิดต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้. จริงอยู่
ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติ
ต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึง
ความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ
(คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.
ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลัน
ทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการ
พิจารณา ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
ตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ
(แปลว่า ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา).

อธิบายคำว่า อัตถะ


บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของ
เหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ). จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือ
ปราศจากกิเลส) พึงถึงพึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุ ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า อัตถะ. เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า
ได้แก่ธรรม 5 เหล่านั้น คือ

1. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
2. พระนิพพาน
3. อรรถแห่งภาษิต
4. วิบาก
5. กิริยา
เมื่อพิจารณาอรรถนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในอรรถนั้น ๆ
ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

อธิบายคำว่า ธัมมะ


คำว่า ธมฺม เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ได้แก่ ปัจจัย. จริงอยู่ เพราะ
ปัจจัยนั้นย่อมจัดแจง ย่อมให้ธรรมนั้น ๆ เป็นไปด้วย ให้ถึงด้วย ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ธัมมะ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิต
พึงทราบว่าได้แก่ธรรม 5 เหล่านี้ คือ
1. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันยังผลให้เกิดขึ้น
2. อริยมรรค
3. ภาษิต (วาจาที่กล่าวแล้ว)
4. กุศล
5. อกุศล
เมื่อพิจารณาธรรมนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรมนั้น
ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา.